"พิมพ์ภัทรา” สั่งขุดต้นตอแก้ปัญหา "ร.ง.4" ค้างท่อตัวถ่วงลงทุน

04 เมษายน 2567
"พิมพ์ภัทรา” สั่งขุดต้นตอแก้ปัญหา "ร.ง.4" ค้างท่อตัวถ่วงลงทุน

"พิมพ์ภัทรา” สั่งขุดต้นตอแก้ปัญหา "ร.ง.4" ค้างท่อตัวถ่วงลงทุน หลังเอกชนร้องเรียนล่าช้า เดินหน้าเรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซาก ด้านนายกเผยไม่เกินกลางเดือนพ.ค. น่าจะเคลียร์ส่วนที่ค้างหมด

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการออกใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ที่ภาคเอกชนร้องเรียนว่า มีความล่าช้าอย่างมาก เป็นตัวถ่วงการลงทุน ว่า นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ทั้งปลัดกระทรวง รองปลัด ผู้ตรวจราชการ และอธิบดีทุกกรม

ซึ่งบรรยากาศภายในที่ประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด เนื่องจากการแก้ปัญหาการออกใบอนุญาตขณะนี้ เป็นการแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้า เช่น โยนเรื่องที่ค้างจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กลับไปที่อุตสาหกรรมจังหวัด

โดยอุตฯจังหวัดบางจังหวัดก็ระบุว่า ก่อนหน้านี้ยื่นเรื่องเข้าไปกว่า 6-7 เดือน แต่กลับโยนเรื่องกลับมาแล้วสั่งให้ตรวจสอบทุกอย่างให้ถูกต้องภายใน 15 วัน ทางนางสาวพิมพ์ภัทรา จึงได้สั่งการให้ กรอ. และอุตฯจังหวัด กลับไปทำข้อมูลให้ชัดเจนทั้งหมดว่า แต่ละรายยังติดปัญหาอะไร ติดที่ใคร อย่างไร และต่อไปจะแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นตออย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซาก และเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน

กำลังโหลด

"พิมพ์ภัทรา” สั่งขุดต้นตอแก้ปัญหา "ร.ง.4" ค้างท่อตัวถ่วงลงทุน

"พิมพ์ภัทรา” สั่งขุดต้นตอแก้ปัญหา "ร.ง.4" ค้างท่อตัวถ่วงลงทุน

"พิมพ์ภัทรา” สั่งขุดต้นตอแก้ปัญหา "ร.ง.4" ค้างท่อตัวถ่วงลงทุน หลังเอกชนร้องเรียนล่าช้า เดินหน้าเรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซาก ด้านนายกเผยไม่เกินกลางเดือนพ.ค. น่าจะเคลียร์ส่วนที่ค้างหมด

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการออกใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ที่ภาคเอกชนร้องเรียนว่า มีความล่าช้าอย่างมาก เป็นตัวถ่วงการลงทุน ว่า นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ทั้งปลัดกระทรวง รองปลัด ผู้ตรวจราชการ และอธิบดีทุกกรม

ซึ่งบรรยากาศภายในที่ประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด เนื่องจากการแก้ปัญหาการออกใบอนุญาตขณะนี้ เป็นการแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้า เช่น โยนเรื่องที่ค้างจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กลับไปที่อุตสาหกรรมจังหวัด

โดยอุตฯจังหวัดบางจังหวัดก็ระบุว่า ก่อนหน้านี้ยื่นเรื่องเข้าไปกว่า 6-7 เดือน แต่กลับโยนเรื่องกลับมาแล้วสั่งให้ตรวจสอบทุกอย่างให้ถูกต้องภายใน 15 วัน ทางนางสาวพิมพ์ภัทรา จึงได้สั่งการให้ กรอ. และอุตฯจังหวัด กลับไปทำข้อมูลให้ชัดเจนทั้งหมดว่า แต่ละรายยังติดปัญหาอะไร ติดที่ใคร อย่างไร และต่อไปจะแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นตออย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซาก และเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน

“เรื่องดังกล่าวนี้รมว.อุตสาหกรรมระบุในที่ประชุมว่า ยังได้รับการร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง จนภาคเอกชนนำเรื่องนี้เข้าหารือกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหา เพราะนายกฯ เดินสายพบนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดึงเข้ามาลงทุนในไทย แต่จะไม่มีผลเลย ถ้ามาติดปัญหาเรื่องการขอใบอนุญาต ร.ง.4"

ทั้งนี้ จึงเป็นเหตุผลที่นายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงและเรียกรมว.อุตสาหกรรมเข้าไปพบ เพื่อขอรับทราบข้อเท็จจริง และขอให้ติดตามแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ไม่ให้เสียบรรยากาศของการลงทุน และรมว.อุตสาหกรรม ได้พูดกลางที่ประชุมตรง ๆ เลยว่า นักลงทุน มาพูดกับตนว่า ปัญหาการยื่นขอรับใบอนุญาตร.ง.4 เวลานี้ คือ คุยแล้วไม่จบ เป็นเรื่องที่รับไม่ได้มากๆ ต้องเร่งแก้ให้เร็วที่สุด”

อย่างไรก็ตาม อีกประเด็นที่คาดว่า ทำให้การอนุมัติใบร.ง.4 ล่าช้า คือ เมื่อปลายปี 65 ได้มีคำสั่งจากผู้บริหารระดับสูงในกรมฯ รายหนึ่ง ออกคำสั่งแนวทางการดำเนินงานในการขอใบอนุญาต ให้กองที่รับผิดชอบดำเนินงานเสนอการขอใบอนุญาต ต้องเสนอเรื่องให้ผู้บริหารระดับสูงรายหนึ่งเห็นชอบ ก่อนที่จะดำเนินการแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต มองว่า เป็นกระบวนการซ้ำซ้อน เสียเวลา ต้องรอให้คนคนเดียวตรวจสอบ เหมือนสมัยก่อนที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองการพิจารณาอนุญาตโรงงานฯ ทำให้ล่าช้า ถูกร้องเรียนเชิงลบอย่างหนัก จนต้องยุบออกไป

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัญหาการออกใบอนุญาตร.ง. 4 ล่าสุด ยังพบปัญหาช่องว่างระหว่าง กรอ. และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) กรณีที่สอจ.ต้องตรวจสอบคำขออนุญาตพร้อมข้อมูลที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ระบุไว้ เพื่อส่งให้กรอ.พิจารณาอนุญาต แต่เจ้าหน้าที่กรอ.อาจขอข้อมูลหรือคำชี้แจงเพิ่มเติมจาก ผู้ยื่นคำขออนุญาตอีก

ส่วนมากจะขึ้นกับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ มองว่าตรงจุดดังกล่าวนี้ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน สร้างความสับสน และเป็นภาระแก่ผู้ประกอบการได้ ต่อไปต้องทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ควรใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งตนได้ให้ทุกฝ่ายกลับไปเช็คขั้นตอนรายละเอียดทั้งหมด และอะไรที่ยังเป็นปัญหา เพื่อให้ขั้นตอนทุกอย่างเป็นแนวทางเดียวกัน ทำให้ขั้นตอนอนุมัติเร็วขึ้น โดยให้เสนอกลับมาในที่ประชุมวันที่ 10 เม.ย. นี้ เพื่อให้การแก้ปัญหาถึงต้นตอ ไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซากอีก  

“ได้ย้ำกับผู้บริหารกระทรวงตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาให้ทำการปรับลดขั้นตอนการอนุญาตให้รวดเร็ว เน้นการบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว เพราะนายกรัฐมนตรีได้ชักชวนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรมต้องรับไม้ต่อในเรื่องการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตต่าง ๆ ซึ่งได้สั่งการให้เร่งเคลียร์คำขออนุญาตที่ค้างอยู่ในระบบให้หมดภายใน 30 วัน และให้ผู้ตรวจราชการทุกท่าน ตรวจสอบคำขออนุญาตในทุกจังหวัดว่ายังหลงเหลืออยู่จำนวนเท่าใด ติดขัดในขั้นตอนไหน ให้รีบแก้ไขเพื่อให้สามารถออกใบอนุญาตโรงงานได้โดยเร็ว"

นายศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง โพสเฟสบุ๊กส่วนตัว (Srettha Thavisin) ระบุว่า ได้ติดตามเรื่องใบอนุญาตโรงงาน (รง.4) ที่ค้างอยู่ในระบบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับรายงานว่า ขณะนี้จำนวนใบขออนุญาตที่ค้างอยู่ในระบบได้ลดลงไปมากแล้ว และไม่เกินกลางเดือนพฤษภาคมนี้ น่าจะเคลียร์ส่วนที่ค้างได้หมด

นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ได้ปรับขั้นตอนในการขออนุญาตให้สั้น และรวดเร็วขึ้น ถ้าตั้งโรงงานได้เร็วขึ้นหนึ่งวัน โอกาสการกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะเร็วอีกหนึ่งวันเช่นกัน


แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.